Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 17
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  28 เมษายน พ.. 2558
เวลาเรียน 09.00     เวลาเข้าสอน 09.00    เวลาเข้าเรียน 09.00    เวลาเลิกเรียน 13.00
เนื้อหา 1. เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program)
ความรู้ที่ได้รับ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
ความหมายของแผนIEP
- เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผนIEP
1.จะคัดแยกเด็กพิเศษโดยครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
2.จะประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ ทำให้ทราบว่าต้องช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้ หรือทำอะไรไม่ได้
3.จากนั้นจึงเริ่มเขียนแผน
หมายเหตุ : ก่อนเขียนแผนจะมีการพูดคุยปรึกษากันในบุคคลต่อไปนี้  พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นเมื่อเขียนแผนเสร็จจะต้องได้รับการเซ็นยินยอมก่อนถึงจะใช้ได้
แผนIEPประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถเด็กในขณะปัจจุบัน
- *เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- *ระบุวันเดือนปี ที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพตนเอง
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมจัดทำแผน เพื่อให้เด็กพัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกๆของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมีการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
๐ รายงานทางการแพทย์  รายงานการประเมินพัฒนาการด้านต่างๆ
๐ บันทึกจากผู้ปกครองครูและส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
๐ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
๐ กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
๐ กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
๐ จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อลงชื่อ
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.ระยะยาว กำหนดให้กว้างแต่ต้องชัดเจน! เช่น
๐ น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
๐น้องดาวร่วมมือกับผู้อท่นได้ดีขึ้น
๐น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
2.ระยะสั้น ต้องอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายระยาว เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ 2 - 3 วัน        หรือ 2 - 3 สัปดาห์ การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นต้องเป็นเชิงพฤติกรมเด็ก เป็นพฤติกรรมที่น้องแสดงออกเท่านั้น ซึ่งน้องต้องทำพฤติกรรมนั้นได้ในระยะสั้นๆ
ในการเขียนระยะสั้นต้องมีสิ่งนี้เสมอ
 *สอนใคร  *พฤติกรรมอะไร *สอนเมื่อไหร่ที่ไหน
*สอนนานขนาดไหนพฤติกรรมต้องดีขนาดไหน
3.การใช้แผน
๐ เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
๐ นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
๐ แยกย่อยขั้นตอนให้เหมาะกับเด็ก
๐ จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๐ ตั้งเป้าอะไรในแผนก็ตามแต่ต้องใช้วิธีการย่อยงานเสมอ
๐ ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
            1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
            2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
*การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน*
เนื้อหา 2. เขียนแผน IEP ( งานกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน )
ภาพขณะช่วยกันเขียนแผนโดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำ
แผนกลุ่มที่เสร็จสมบูรณ์
เนื้อหา 3. สอบร้องเพลง (5 คะแนน )
ฉันท่องเที่ยวไป..ผ่านตามท้องไร่ท้องนา ^^
เนื้อหา 4. มอบรางวัลเด็กดี
ได้เป็นครั้งที่3แล้ว ขอบคุณอ.เบียร์มากๆค่ะ^^
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: วันนี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายสำหรับวิชานี้vตั้งแต่ต้นชั่วโมงจนท้ายสุด ก็มีความตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจกับเนื้อหา ในการสอบร้องเพลงวันนี้ก็มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และมั่นใจว่าจับเพลงไหนขึ้นมาก็ไม่มีปัญหา อิอิ^^ ก็ถือว่าทำอย่างเต็มที่ค่ะในการเขียนแผนค่อนข้างงงเล็กน้อยแต่ก็คิดว่าไม่ยากเกินไปถ้าทบทวนอีกรอบ  และสุดท้ายรู้สึกมีความสุขมากๆที่ได้เรียนวิชานี้ ได้เรียนกับอาจารย์น่ารักแบบนี้ ขอบคุณอาจารย์ที่อดทนกับพวกหนูนะคะ J 
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆมีความตั้งใจและทำให้เห็นถึงความรักที่มีต่ออาจารย์เมื่ออาจารย์พูดว่าจะไม่ได้สอน หน้าแต่ละคนก็เศร้าไปตามๆกัน ในการเตรียมตัวสอบร้องเพลงวันนี้ก็เห็นเพื่อนๆกังวลกันมาก และทำให้เห็นการสามัคคีกัน มีการฝึกซ้อมและช่วยเหลือกัน ก็ทำให้บรรยากาศวันนี้สนุกสนานครื้นเครง 55555555 ขำจนท้องแข็ง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์น่ารักเสมอ แต่งกายเรียบร้อย และให้โอกาสพวกเรา แถมยังใจดีด้วย สิ่งที่ประทับใจในตัวอาจารย์ ตั้งแต่เห็นทุกครั้งที่ได้เรียน คือการดูแล ใส่ใจนักศึกษา แบบถึงไหนถึงกัน เวลาเรียนก็จะคอยเดินดูทุกๆคนอย่างทั่วถึง และมีความเข้าใจในตัวพวกเราเป็นอย่างมาก สุดท้ายนี้ขอให้ปฐมวัยของเรามีอาจารย์คนนี้อยู่ตลอดไป T_____T

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  20 เมษายน พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20    เวลาเข้าเรียน 12.20    เวลาเลิกเรียน 15.00
เนื้อหา 1. เฉลยข้อสอบ
ข้อสอบและคำตอบ
1.การย่อยงานใส่ถุงเท้า
ตอบ 1.ให้น้องนั่งก่อน 2.จับถุงเท้ากาง 3.ชันเข่าขึ้น 4.เล็งปลายเท้า 5.สวมถุงเท้าแล้วดึงขึ้น
2.การปรับพฤติกรรมน้องจีจี้ และมีความคิดเห็นกับพฤติกรรมน้องอย่างไร
ตอบ     - บอกน้องจีจี้ไม่ให้ตีเพื่อน ตีเพื่อนไม่ดีนะเดี๋ยวเพื่อนจะเจ็บ บอกเหตุผลกับน้องและให้น้องมีพฤติกรรมอื่นแทนที่  คือ ไม่ตีเพื่อนนะค้า บอกเพื่อนดีๆว่าหนูกำลังเล่นอยู่ หรือ บอกว่า อันนี้ของจีจี้
    - จากพฤติกรรมของน้องจีจี้ที่ใช้คำพูดกับเพื่อนแทนการตีเพื่อนแล้ว แสดงให้เห็นว่าน้องมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถึงแม้จะมีพฤติกรรมอื่นอยู่แต่น้องจะค่อยๆปรับตัวเอง
3.น้องมีมี่ไม่เข้าไปเล่นกับเพื่อนจะทำอย่างไร
ตอบ ต้องสร้างจุดเด่นให้น้อง เช่น ให้น้องถือตัวพิมพ์หรือไม้นวดแป้งเข้าไป และพาน้องเดินเข้าไปบอกกับเด็กคนอื่นๆว่า ดูซิน้องมีมี่มีของเล่นเยอะแยะเลย แบ่งกันเล่นกับน้องมีมี่นะ
หมายเหตุ : ครูคอยสังเกตอยู่ไม่ห่าง ถ้าน้องเล่นไม่ได้ครูจึงเข้าไปช่วย และประคองมือน้อง
4.สอนน้องมิ้นท์ผูกผ้ากันเปื้อน
ตอบ - สังเกตก่อนว่าน้องต้องการความช่วยเหลือไหม
  - เดินเข้าไปถามซ้ำๆ หนูใส่ผ้ากันเปื้อนอยู่ใช่ไหม
  - ถ้าน้องไม่ตอบให้ ครูจับผ้ากันเปื้อน ขึ้นมาให้น้องถือแล้วพูดตาม ไหนพูดตามครูซิ..ใส่ผ้ากันเปื้อน...
  - ถ้าน้องยังไม่พูดอีก ให้ครูใส่ให้น้องแล้วประคองมือน้องด้วย
5.น้องดุ๊กดิ๊กสมาธิสั้น มีเพื่อนรออยู่แต่น้องไม่ยอมใส่รองเท้า
ตอบ - เรียกชื่อน้อง น้องดุ๊กดิ๊ก…. และแตะตัวสัมผัสให้น้องมานั่งใส่รองเท้า น้องดุ๊กดิ๊กดูสิเพื่อนรออยู่ มาๆใส่รองเท้า อาจถามน้องว่าจะให้ครูช่วยไหมหรือจะใส่เอง  ถ้าน้องไม่ยอมมาให้กอดรัดน้องแน่นๆเหมือนบังคับ
เนื้อหา 2. เกมปลดปล่อยดิ่งพสุธา

เนื้อหา 3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
ช่วงความสนใจ (เด็กพิเศษอยู่ที่ 3-5นาที)
- ต้องมีก่อนทักษะอื่นๆ
- เด็กจะจดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งนานพอสมควร ฉะนั้นกิจกรรมจะต้องกระชับ น่าสนใจ
การเลียนแบบ    ได้จาก พ่อ แม่ ครู เพื่อน บุคคลรอบตัวเด็ก
เป้าหมาย   
- ช่วยเหลือให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้   - ทำให้เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
- ช่วยให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง - พัฒนาความกระตือรือร้นของเด็ก
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ ครูควรคำนึงว่า..>>
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การปฏิบัติ การสั่งไม่ควรเกิน 2 คำสั่ง ต้องใช้คำสั่งง่ายๆ สมมุติว่า...ใช้น้องดาวน์ไปหยิบของ อาจใช้ทั้งเด็กปกติ และน้องดาวน์ พร้อมกัน เพราะน้องดาวน์จะเลียนแบบ  เช่น น้อง..ไปหยิบสีเทียนให้คุณครูหน่อย  ให้เรียกน้องดาวน์ก่อน แล้วใช้เด็กปกติตาม เพราะน้องดาวน์สั่งการช้า และจะได้ฟังทันรอให้เขาประมวลก่อน เมื่อเขาเห็นเด็กปกติเดินไปก็จะทำตาม
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- การได้ยิน มองเห็น สัมผัส ลิ้มรส ดมกลิ่น รวมไปถึงการตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ      - ต่อบล็อก  ศิลปะมุมบ้าน      - การช่วยเหลือตนเอง
ความจำ                      
- จากการสนทนา เช่น ถามว่าเมื่อเช้าหนูทานอะไรมา
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทานได้ไหม
- จำชื่อครู ชื่อเพื่อนได้ไหม
- เล่นเกมทายของที่หายไป
ตัวอย่างอุปกรณ์  จะต้องเล่นง่าย  จับสะดวก มีน้ำหนัก

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก (ต้องเป็นรูปด้านเดียว)
ตัวอย่างการปฏิบัติ กิจกรรมตัดกระดาษ
1.กระดาษที่ให้เด็กตัดต้องไม่ใหญ่มาก
2.มีเส้นประให้น้องตัดตาม
3.ให้น้องถือกรรไกร
4.ครูถือกระดาษให้น้อง
5.ยื่นกระดาษให้น้องตัดตามเส้น                                                                                           
ทักษะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผน การเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนชัดเจนว่าต้องทำอะไร ที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย  เช่น สีเดิม ขนาดเดิม
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ก่อนเด็กจะมาถึง
- พูดในทางที่ดี  ชมผลงานเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว  เช่น ให้เด็กส่งของต่อกันทีละคนโดยให้เด็กหยิบเอง ครูไม่ควรเดินแจก
- ทำบทเรียนให้สนุก
ตัวอย่างการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ  ให้เด็กเวียนทำ เด็กพิเศษจะงง ครูจะต้องชี้นำ โดยการพูดหนูจะทำอะไรดี อันนี้ไหมๆ  แล้วพาเด็กเข้าไป และต้องบอกว่าจะต้องทำตัวแบบไหน เสมือนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ คือครูจะจัดพื้นที่ให้เด็กทำ                                                                                       
 การประเมินผล                                                                                                                            
 ประเมินตนเอง: รู้สึกง่วงนอนและร้อนมาก เมื่อยๆ และคิดตามไม่ค่อยทันในวันนี้ แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนเท่าที่จะทำได้ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆ ดูง่วงๆกัน เมื่อให้ทำกิจกรรมทายใจก็จะครึกครื้นตามปกติ พอเข้าสู่เนื้อหาก็เงียบและตั้งใจฟังประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ยกกรณีต่างๆมาเล่าให้ฟังเป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้จำและนำไปใช้ได้ในอนาคต และยังมีการเร้าความสนใจให้นักศึกษากระตือรือร้นก่อนเข้าสู่เนื้อหาด้วยกิจกรรมสนุกๆ รวมทั้งใช้ศัพท์วัยรุ่น เหมาะกับอายุพวกเรามากๆ 5555 ดึงสติกันหน่อยน่า