Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19 มกราคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20     เวลาเข้าเรียน 12.15   เวลาเลิกเรียน 15.50
    -    อาจารย์เล่าประสบการณ์ที่พารุ่นพี่ไปค่ายจังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง มีการใช้ภาษาถิ่น มีรอยยิ้ม และมีความสุขกับความสำเร็จ เมื่อทำเสร็จแล้ว ได้เห็นเด็กๆเล่นอย่างมีความสุข
เนื้อหา 1. ร้องเพลงเพื่อทบทวนสัปดาห์ที่แล้ว
ความรู้ที่ได้รับ: การร้องเพลงให้มุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง                                                                      
“การร้องเพลงหรือปรบมือจะต้องมีอารมณ์ร่วมกับเพลงนั้นๆด้วย สามารถแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตาที่มีชีวิตชีวา ก็จะทำให้เราสนุกสนาน ได้เสียงที่เปล่งออกมาไพเราะ และทำให้คนรอบข้างรู้สึกมีความสุข
เนื้อหา 2. เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการจัดการศึกษา มี 4รูปแบบ
    1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) = สำหรับเด็กทั่วไป
    2. การศึกษาพิเศษ (Special Education) = เด็กพิเศษ + เด็กพิเศษ
    3. การศึกษาแบบ เรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming) = เด็กพิเศษ ขอเข้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติ
    4. การศึกษาแบบ เรียนรวม (Inclusive Education) = เด็กพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาส
 ความหมายการศึกษาแบบเรียนร่วม หมายถึง การจัดเด็กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบการศึกษาทั่วไป โดยให้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของแต่ละวันและมีครูทั้ง2ฝ่ายช่วยดูแลร่วมกัน  ดังนั้น การศึกษาแบบเรียนร่วม จึงแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ต่อไปนี้
    - การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นเด็กพิเศษพิการระดับปานกลาง - มากที่สุด ที่ไม่อาจมาเรียนเต็มเวลาได้ จึงมาเรียนร่วมบางวิชา เช่น ดนตรี พละ ศิลปะ เพื่อให้เด็กได้แสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
    - การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) เด็กพิเศษพิการระดับปานกลาง - น้อย ที่เรียนร่วมและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติได้ทั้งวันซึ่งดีรับการดูแลเท่ากบเด็กปกติทั่วไปซึ่งกิจกรรมในวันนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนให้เรียนด้วยกันได้ เพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการยอมรับผู้อื่น และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
 •ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การศึกษาสำหรับทุกคน คือ การที่รับเด็กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบโรงเรียนของการศึกษาแบบทั่วไป เริ่มตั้งแต่เปิดการศึกษาจนตลอดหมดเทอม และมีการจัดบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความหมาย “การศึกษาแบบเรียนรวม” ตามแบบสากล
Inclusive Education is Education For All,
It involves receiving people
At the beginning of their education,
With provision of additional services
Needed by each individual”
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
การศึกษาแบบเรียนรวมเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของการศึกษา
แต่ละบุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือแตกต่างกันไป
ตามความต้องการของแต่ละบุคคล
 ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
    เพราะเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย สามารถสอนได้เร็วเนื่องจากสมองมีการพัฒนาได้สูง และต้องเป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด หมายถึง กิจกรรมต้องระดับกลางๆไม่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กได้เล่น ลองทำ เป็นต้น
Post test
1. นักศึกษาคิดว่าการศึกษาแบบเรียนรวม ดีกว่า การที่ให้เด็กพิเศษเรียนกับเด็กพิเศษหรือไม่
2. การศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวมต่างกันอย่างไร                                          
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                           1. เมื่อไปเป็นครูสามารถจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็กพิเศษแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับห้องเรียนรวมคือต้องเป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างอย่างอิสระและเด็กทุกคนสามารถทำได้โดยไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป
2. ต้องจดจำความหมายทำความเข้าใจและสามารถบอกผู้อื่นได้ว่าเด็กเรียนร่วมและเรียนรวมต่างกันอย่างไร
3. ถ้ามีโอกาสพบเด็กพิเศษก็จะส่งเสริมและพัฒนาเขาอย่างเต็มที่โดยเชื่อว่าเขาพัฒนาได้ถ้าเราให้โอกาส
4. เวลาสอนทุกครั้งจะพยายามใส่ Aecting&Inner  ในการร้องเพลงต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีทำให้เด็กสนุก เพราะถ้าเรามีความสุข เด็กก็จะมีความสุขไปด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเองตอนอาจารย์เล่าเรื่องพาพี่ๆไปค่าย ทำให้รู้สึกถึงความสุขที่จะได้รับ ถ้าถึงเวลาได้ไปจริงๆก็คงจะเป็นเช่นนั้น เลยทำให้รู้สึกอยากไปเร็วๆ / วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ขณะเรียนพยายามตั้งใจฟังและจดเพราะต้นชั่วโมงอาจารย์พูดว่าถ้าไม่ตั้งใจท้ายคาบจะเสียใจ ดิฉันก็พยามแยกแยะเนื้อหาการเรียนร่วมและเรียนรวม ช่วงแรกๆจะรู้สึกมึนๆแต่ก็พยายามเรียนสมาธิตัวเองกลับมา
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆสนใจในการเรียนบางช่วงมีคุยกันบ้างแต่เมื่ออาจารย์ถามก็จะตอบและร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดีและทำได้เห็นความคิดที่หลากหลายจากเพื่อนๆทุกกลุ่ม ในต้นชั่วโมงที่อาจารย์ให้ร้องเพลงทุกคนก็สามัคคีพร้อมเพรียงกันและทำได้ดีเสียงที่ออกมาจึงดีกว่าสัปดาห์ที่แล้วเมื่อทุกคนได้มีการฝึกซ้อม
ประเมินอาจารย์อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี เหมือนการใช้น้ำเย็นเข้าลูบ ใช้คำพูดที่อ่อนหวานน่ารักและไม่ใช้อารมณ์กับนักศึกษา เมื่อเห็นพวกเราคุยก็จะพูดภาษาถิ่น อย่าเว้าหลาย/อย่าแหลงเยอะ/อย่าอู้นัก จึงทำให้รู้ภาษาอื่นๆไปด้วย และอยากให้นักศึกษามีส่วนร่วมทุกคนก็จะเดินถามทีละกลุ่ม ในวันนี้ถึงเครื่องฉายไม่มีจึงทำให้ไม่ได้เปิดพอยต์แต่ก็ได้เห็นว่าอาจารย์ก็เตรียมตัวที่จะสอนมาเป็นอย่างดีทุกครั้ง โดยที่ไม่ต้องดูเนื้อหาก็สามรถสอนพวกเราได้ อาจารย์จะสังเกต ใส่ใจนักศึกษาตลอด เช่น วันนี้ออยดูเงียบๆ อาจารย์ก็จะเห็นสภาวะทางการเรียนที่แปลกๆไป ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีเมื่อนศ.ไปเป็นครูเราก็ควรรู้จักสังเกตเด็กอยู่ตลอดเวลา

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12 มกราคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20     เวลาเข้าเรียน 12.15   เวลาเลิกเรียน 15.50
-                   ต้นชั่วโมงอาจารย์เล่าประสบการณ์ที่พารุ่นพี่ไปค่ายจังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติตนเมื่อได้ไปในปีหน้า
เนื้อหา 1. เฉลยข้อสอบวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- ข้อสอบ เลือก ถูก ผิด และแก้ประโยค
            1.การส่งเสริมพัฒนาการน้องดาวน์ซินโดรมเพื่อให้น้องสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีความสามารถใกล้เคียงเด็กปกติ
            2.แผน IEP หรือแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล เป็นแผนระยะยาว ใช้จัดให้เด็กหนึ่งเทอมหรือทั้งปี
            3.น้องดาวน์ซินโดรม ถ้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมก็จะมีพัฒนาการใกล้เคียงเด็กปกติ
            4.การพัฒนาเด็กไม่มุ่งพัฒนาเฉพาะความบกพร่องแต่ต้องส่งเสริมด้านอื่นๆและสิ่งที่เด็กถนัดด้วย
            5.การให้เด็กออทิสติกทำกิจกรรมและเล่น ของเล่นจะต้องมีความหลากหลาย
            6.เด็กออทิสติกไม่ควรส่งเสริมสมรรถภาพการศึกษาทางวิชาการ ควรเน้นด้านสังคม การคิด ภาษา ฯลฯ
            7. ห้องเรียนคู่ขนานเป็นห้องเรียนสำหรับเด็ก ออทิสติก
            8. โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(PECS) ใช้แค่ชั่วคราวสำหรับเด็กออทิสติกเท่านั้นเพราะต้องการที่จะพัฒนาทางภาษาเด็กต่อไป
            9. ชื่อยา Ritalin หรือ  Methylphenidate ควรให้เด็กสมาธิสั้นทาน ซึ่งไม่มีอันตรายต่อเด็ก
            10.เด็กสมาธิสั้นสามารถเรียนกับโรงเรียนของเด็กปกติได้ แต่ทางโรงเรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเด็กสมาธิสั้น
- ข้อสอบถามตอบเกี่ยวกับ VDO
            1. หน่วยงานใน VDO เรียกว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษ หรือ ศูนย์ EI  คือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษทุกประเภท
            2. สื่อที่อยู่ใน VDO เช่น ถุงมือแม่ไก่ / กลอง / แป้งโดในไข่ /  สิ่งกีดขวาง / ภาพเพื่อการสื่อสาร / จาน ฯลฯ
            3. ตัวอย่างกิจกรรมใน VDO เช่น การเดินข้ามสิ่งกีดขวางโดยถือสิ่งของหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
- วิเคราะห์พฤติกรรมเด็กและตอบคำถาม
            1... สินธัช ชอบทำกิจกรรมวาด รูประบายสี คณิตศาสตร์ แต่ไม่ชอบพูดคุยกับผู้อื่น
ตอบ สินธัชเป็นเด็กออทิสติกร่วมด้วยสมาธิสั้น
            2. ถ้าเป็นครูจะมีวิธีส่งเสริมน้องสินธัชอย่างไร
ตอบ จัดสภาพแวดล้อม ห้องเรียนที่สงบ ของเล่นจัดไว้เป็นระเบียบ นั่งอยู่ใกล้ครู ห่างจากประตู และปรับพฤติกรรมโดยเปลี่ยนกิจกรรมให้เยอะๆให้เด็กทำด้วยหลากหลายวิธีการ แต่กิจกรรมต้องสั้นกระชับใช้เวลาไม่นาน แล้วจึงค่อยทำซ้ำๆ ครูต้องเขียนแผน IEP เพื่อพัฒนาเด็กและ การดูแลเด็กเพื่อนสามารถช่วยเพื่อนได้ และที่สำคัญผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจให้ความรักความอบอุ่น
เนื้อหา 2. ทำแบบทดสอบทบทวนความรู้เดิมก่อนเรียน
1.เด็กพิเศษมีกี่ประเภท
- 10 ประเภท ดูเพิ่มเติม
2.ยกตัวอย่างเด็กพิเศษมา 1 ประเภท รวมทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีการดูแล
-   น้องดาวน์ซินโดรม สาเหตุมาจากพันธุกรรม/ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่21/มีอาการบกพร่องทางสติปัญญาพูดไม่ค่อยชัดลักษณะเห็นได้ชัดทางสีหน้า ตาห่าง จมูกแบน ริมฝีปากบาง 
3.ชื่อวิชา และรหัสวิชาที่กำลังเรียนอยู่
- EAED3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
4.ชื่อภาษาอังกฤษของวิชานี้
- Inclusive Education Experiences Management For Earry Childhood
5.วิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร และคิดว่ามีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไร
- การเรียนรวมของเด็กพิเศษ 
เนื้อหา 3.สอนร้องเพลงเพื่อใช้บำบัดเด็กพิเศษ
ผู้เรียบเรียง: อ.ตฤณ   แจ่มถิ่น
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                 
1. สามารถนำวิธีการดูและเด็กพิเศษที่เรียนในวิชาที่แล้ว มาใช้กับวิชานี้ได้
2. สามารถทบทวนความรู้และประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ และดูแลเด็กได้
3. สามารถนำประสบการณ์ที่อาจารย์เล่าไปใช้เมื่อไปค่ายก็จะทำให้เต็มที่และไปแบบมีความสุข
4.นำเพลงไปหัดร้องและเก็บไว้ใช้กับเด็กปฐมวัยหรือบำบัดเด็กพิเศษให้เขาเรียนรู้เรื่องรอบตัวด้วยเพลงและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกที่อาจารย์สอน เมื่ออาจารย์เฉลยข้อสอบก็รู้สึกเสียดายในบางข้อ ครั้งนี้ก็พยายามที่จะจดจำคำตอบที่ถูกต้องให้ได้..ทั้งของวิชาที่แล้ว และในวิชานี้ก็จะทำให้ดียิ่งขึ้น เมื่ออาจารย์สอนร้องเพลงก็ตั้งใจเพราะเป็นสิ่งที่ชอบ บางเพลงพอร้องได้ แต่บางเพลงที่ยังร้องไม่ได้ก็จะใช้เทคนิคคือฟังทำนองก่อน และก็ดูปากอาจารย์ในรอบแรก แต่ที่เป็นอุปสรรคก็จะเป็นเสียงเพื่อนรอบข้างเพราะเวลาอาจารย์ร้องก็จะไม่ฟังก่อน แล้วร้องแทรกไปพร้อมกัน (55555 ก็เลยเพี้ยนกันไป) หนูเลยต้องแยกแยะและอ่านปากอาจารย์ไปด้วย ก็ทำให้รับรู้เสียงได้ดี และครั้งต่อไปก็จะฝึกซ้อมบ่อยๆค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียน คอยแซวอาจารย์บ้าง สนทนาโต้ตอบกันสนุกสนาน เมื่อเฉลยข้อสอบก็มีส่วนร่วมในการตอบเป็นอย่างดี มีบางส่วนข้างหลังที่แอบเล่นโทรศัพท์ในบางครั้งตอนที่อาจารย์เล่าเรื่องไปบุรีรัมย์ให้ฟัง แต่เพื่อนก็ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อย บางคนก็ใส่รองเท้าผิดระเบียบอยู่บ้าง และเมื่ออาจารย์ให้ร้องเพลงก็สามัคคีกัน เสียงออกมาไพเราะและสามารถพัฒนากันต่อไปได้เรื่อยๆ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีความเป็นห่วงนักศึกษา โดยนำเรื่อง นำประสบการณ์ต่างๆที่ไปบุรีรัมย์ มาเล่าให้ฟัง ชอบเวลาอาจารย์เล่าเรื่องก็จะใส่อารมณ์ร่วมด้วยทำให้นึกภาพตาม และอยากไปเร็วๆ^^ นอกจากนั้นอาจารย์ก็จะใส่ใจนักศึกษาได้ดีมากๆ เวลาสอนก็จะพยายามเดินให้ทั่วถึง หันมามองนักศึกตลอดทั้่งซ้ายขวา และมีเทคนิคให้แต่ละคนมีส่วนร่วมก็จะแบ่งโซน เช่นการถาม-ตอบ ก็จะถามเป็นกลุ่มๆ 5-6 คน หรือแม้แต่การสอนร้องเพลงก็จะเตรียมเครื่องเคาะจังหวะมาด้วย ถึงจะไม่ค่อยสบายก็ยังสอนพวกเรา และอธิบายสิ่งต่างๆได้ละเอียดชัดเจนดีค่ะ





วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  5 มกราคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20     เวลาเข้าเรียน 12.15   เวลาเลิกเรียน 15.50
เนื้อหา การปฐมนิเทศรายวิชาการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
สนทนาซักถาม : อาจารย์ถามว่า ชื่อวิชานี้ คือวิชาอะไร? /และคิดว่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไร?
 > วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
 > เรียนเกี่ยวกับ เด็กพิเศษทุกประเภทที่ต้องเรียนรวมกับเด็กปกติ
*จำชื่อวิชาภาษาอังกฤษด้วย!*
ชี้แจง :
1. วิชานี้เรียนแบบปฏิบัติ “เน้นทำกิจกรรมมากขึ้น
2. วิชานี้ต้องทำBlog 30 คะแนน (เหมือนเป็นคะแนนสอบ) ไม่ต้องทำMap เน้นความสวยงาม
3. วิชานี้ต้องฝึกร้องเพลงบำบัด
4. งานส่วนมากจะทำในห้องทั้งกลุ่ม/เดี่ยว
ข้อตกลง :
1. เวลาเรียนให้  “จัดโต๊ะครึ่งวงกลม”/ “ ถอดรองเท้า เรียงหน้าห้องให้เรียบร้อย  
2. เน้นคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น เข้าเรียนตรงต่อเวลา ไม่ขาดเรียน ไม่พูดคุยขณะเรียน
3. การปั้มเวลามาเรียนหรือเด็กดีจะจริงจังมากยิ่งขึ้น ถ้าสายเกิน15นาที จะไม่ปั้มให้
การนำไปประยุกต์ใช้
1. ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
2. ต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอๆ และตั้งใจเรียนให้มากขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายเรียบร้อย แต่ในการเรียนวันแรกยังรู้สึกไม่ค่อยกระตือรือร้น ง่วงนอน ต้องปรับตัวเนื่องจากหยุดมาหลายวัน ก่อนเรียนก็ลุ้นอาจารย์ผู้สอนสุดฤทธิ์กลัวมีการเปลี่ยนแปลงอีก 5555 ในวันนี้เมื่ออาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดการเรียน ในการทำบล็อกเมื่อไม่ต้องมีMapก็รู้สึกสบายใจขึ้น^^ ภายในห้องวันนี้รู้สึกถึงความเงียบๆเหงาๆและการที่จะต้องปรับตัวเรียนกับเพื่อนกลุ่มใหม่ อาจเป็นเพราะห้องเรียนที่เคว้งเกินไปกับจำนวนคนที่น้อยกว่าเดิม
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆ พูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์อย่างสนุกสนาน เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มานั่งรออาจารย์ก่อนหน้าห้อง แต่วันนี้ก็ยังมีเพื่อนหลายคนที่ยังไม่มาเรียน อาจเป็นเพราะยังไม่กลับจากต่างจังหวัดหรือหยุดต่อเนื่อง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย พูดคุยเป็นกันเองกับนักศึกษา สำรวจลักษณะของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม คอยเล่นมุกเสมอๆ ถึงแม้ไม่ค่อยสบายก็ยังฝืนพูดอธิบายจนจบ และยังพูดคุยเล่าถึงอาจารย์ท่านอื่นๆในมุมต่างๆให้ฟัง ทำให้รู้สึกถึงความเป็นกันเองและมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียน สุดท้ายก่อนออกจากห้อง ก็ได้อวยพรปีใหม่ให้นักศึกษาด้วย ให้ลืมอะไรเก่าๆสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้เครียดในปีที่แล้วและเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ๆในปี58