Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19 มกราคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20     เวลาเข้าเรียน 12.15   เวลาเลิกเรียน 15.50
    -    อาจารย์เล่าประสบการณ์ที่พารุ่นพี่ไปค่ายจังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง มีการใช้ภาษาถิ่น มีรอยยิ้ม และมีความสุขกับความสำเร็จ เมื่อทำเสร็จแล้ว ได้เห็นเด็กๆเล่นอย่างมีความสุข
เนื้อหา 1. ร้องเพลงเพื่อทบทวนสัปดาห์ที่แล้ว
ความรู้ที่ได้รับ: การร้องเพลงให้มุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง                                                                      
“การร้องเพลงหรือปรบมือจะต้องมีอารมณ์ร่วมกับเพลงนั้นๆด้วย สามารถแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตาที่มีชีวิตชีวา ก็จะทำให้เราสนุกสนาน ได้เสียงที่เปล่งออกมาไพเราะ และทำให้คนรอบข้างรู้สึกมีความสุข
เนื้อหา 2. เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการจัดการศึกษา มี 4รูปแบบ
    1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) = สำหรับเด็กทั่วไป
    2. การศึกษาพิเศษ (Special Education) = เด็กพิเศษ + เด็กพิเศษ
    3. การศึกษาแบบ เรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming) = เด็กพิเศษ ขอเข้ามาเรียนร่วมกับเด็กปกติ
    4. การศึกษาแบบ เรียนรวม (Inclusive Education) = เด็กพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาส
 ความหมายการศึกษาแบบเรียนร่วม หมายถึง การจัดเด็กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบการศึกษาทั่วไป โดยให้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของแต่ละวันและมีครูทั้ง2ฝ่ายช่วยดูแลร่วมกัน  ดังนั้น การศึกษาแบบเรียนร่วม จึงแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ต่อไปนี้
    - การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นเด็กพิเศษพิการระดับปานกลาง - มากที่สุด ที่ไม่อาจมาเรียนเต็มเวลาได้ จึงมาเรียนร่วมบางวิชา เช่น ดนตรี พละ ศิลปะ เพื่อให้เด็กได้แสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
    - การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) เด็กพิเศษพิการระดับปานกลาง - น้อย ที่เรียนร่วมและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติได้ทั้งวันซึ่งดีรับการดูแลเท่ากบเด็กปกติทั่วไปซึ่งกิจกรรมในวันนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนให้เรียนด้วยกันได้ เพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการยอมรับผู้อื่น และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
 •ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การศึกษาสำหรับทุกคน คือ การที่รับเด็กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบโรงเรียนของการศึกษาแบบทั่วไป เริ่มตั้งแต่เปิดการศึกษาจนตลอดหมดเทอม และมีการจัดบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความหมาย “การศึกษาแบบเรียนรวม” ตามแบบสากล
Inclusive Education is Education For All,
It involves receiving people
At the beginning of their education,
With provision of additional services
Needed by each individual”
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
การศึกษาแบบเรียนรวมเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของการศึกษา
แต่ละบุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือแตกต่างกันไป
ตามความต้องการของแต่ละบุคคล
 ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
    เพราะเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย สามารถสอนได้เร็วเนื่องจากสมองมีการพัฒนาได้สูง และต้องเป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด หมายถึง กิจกรรมต้องระดับกลางๆไม่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กได้เล่น ลองทำ เป็นต้น
Post test
1. นักศึกษาคิดว่าการศึกษาแบบเรียนรวม ดีกว่า การที่ให้เด็กพิเศษเรียนกับเด็กพิเศษหรือไม่
2. การศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวมต่างกันอย่างไร                                          
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                           1. เมื่อไปเป็นครูสามารถจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็กพิเศษแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับห้องเรียนรวมคือต้องเป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างอย่างอิสระและเด็กทุกคนสามารถทำได้โดยไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป
2. ต้องจดจำความหมายทำความเข้าใจและสามารถบอกผู้อื่นได้ว่าเด็กเรียนร่วมและเรียนรวมต่างกันอย่างไร
3. ถ้ามีโอกาสพบเด็กพิเศษก็จะส่งเสริมและพัฒนาเขาอย่างเต็มที่โดยเชื่อว่าเขาพัฒนาได้ถ้าเราให้โอกาส
4. เวลาสอนทุกครั้งจะพยายามใส่ Aecting&Inner  ในการร้องเพลงต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีทำให้เด็กสนุก เพราะถ้าเรามีความสุข เด็กก็จะมีความสุขไปด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเองตอนอาจารย์เล่าเรื่องพาพี่ๆไปค่าย ทำให้รู้สึกถึงความสุขที่จะได้รับ ถ้าถึงเวลาได้ไปจริงๆก็คงจะเป็นเช่นนั้น เลยทำให้รู้สึกอยากไปเร็วๆ / วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ขณะเรียนพยายามตั้งใจฟังและจดเพราะต้นชั่วโมงอาจารย์พูดว่าถ้าไม่ตั้งใจท้ายคาบจะเสียใจ ดิฉันก็พยามแยกแยะเนื้อหาการเรียนร่วมและเรียนรวม ช่วงแรกๆจะรู้สึกมึนๆแต่ก็พยายามเรียนสมาธิตัวเองกลับมา
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆสนใจในการเรียนบางช่วงมีคุยกันบ้างแต่เมื่ออาจารย์ถามก็จะตอบและร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดีและทำได้เห็นความคิดที่หลากหลายจากเพื่อนๆทุกกลุ่ม ในต้นชั่วโมงที่อาจารย์ให้ร้องเพลงทุกคนก็สามัคคีพร้อมเพรียงกันและทำได้ดีเสียงที่ออกมาจึงดีกว่าสัปดาห์ที่แล้วเมื่อทุกคนได้มีการฝึกซ้อม
ประเมินอาจารย์อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี เหมือนการใช้น้ำเย็นเข้าลูบ ใช้คำพูดที่อ่อนหวานน่ารักและไม่ใช้อารมณ์กับนักศึกษา เมื่อเห็นพวกเราคุยก็จะพูดภาษาถิ่น อย่าเว้าหลาย/อย่าแหลงเยอะ/อย่าอู้นัก จึงทำให้รู้ภาษาอื่นๆไปด้วย และอยากให้นักศึกษามีส่วนร่วมทุกคนก็จะเดินถามทีละกลุ่ม ในวันนี้ถึงเครื่องฉายไม่มีจึงทำให้ไม่ได้เปิดพอยต์แต่ก็ได้เห็นว่าอาจารย์ก็เตรียมตัวที่จะสอนมาเป็นอย่างดีทุกครั้ง โดยที่ไม่ต้องดูเนื้อหาก็สามรถสอนพวกเราได้ อาจารย์จะสังเกต ใส่ใจนักศึกษาตลอด เช่น วันนี้ออยดูเงียบๆ อาจารย์ก็จะเห็นสภาวะทางการเรียนที่แปลกๆไป ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีเมื่อนศ.ไปเป็นครูเราก็ควรรู้จักสังเกตเด็กอยู่ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น