Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  9 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20     เวลาเข้าเรียน 12.15   เวลาเลิกเรียน 15.50
เนื้อหา 1. กิจกรรมวาดรูปมือเรา
วาดภาพมือของตนเองข้างที่ใส่ถุงมือให้เหมือนมากที่สุด
วาดภาพมือตนเองหลังจากถอดถุงมือแล้วให้เหมือนมากที่สุด ลงบนกระดาษอีกข้างหนึ่ง
ความรู้ที่ได้รับ:
            การวาดรูปวันนี้เปรียบเหมือนการสังเกตเด็กอนุบาล ถึงแม้เราจะคุ้นเคยกับเด็กในทุกๆวันแต่ก็ไม่สามารถจดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของเด็กแต่ละคนได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจว่าเห็นเด็กทุกวัน อย่ามองแต่ภาพรวมแล้วบันทึกครั้งเดียว  แต่ควรจดบันทึกให้เป็นระบบต่อเนื่องทุกวัน เมื่อเห็นพฤติกรรมใดให้จดทันทีอย่าใช้การจำ เพราะข้อมูลอาจสูญหายได้ก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์
เนื้อหา 2. เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ความรู้ที่ได้รับ
ทักษะและทัศนคติของครู  ครูจะต้องปรับความคิดตนเองว่าเด็กพิเศษก็เหมือนกับเด็กปกติทั่วไป มองเด็กให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของห้องและไม่ต้องกังวลในการสอน
การฝึกเพิ่มเติม : มีการอบรมระยะสั้นหรือสัมมนา ทำสื่อต่างๆ  ซึ่งทุกๆโรงเรียนจะมีการจัดอบรมครูปฐมวัยเรื่องเด็กพิเศษโดยเฉพาะ
การเข้าใจภาวะปกติ
1.เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าต่างกันซึ่งเป็นบุคลิกภาพ โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการ      
2.ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทุกคน ถ้าเห็นตรงไหนเด็กติดขัดหรือทำไม่ได้สามารถเข้าไปช่วยเหลือหรือพูดคุยกับเด็กให้เขาเกิดความไว้วางใจได้ โดยเฉพาะกับเด็กออทิสติก
3.รู้จักเด็กแต่ละคน ทราบข้อมูลหรือจำชื่อเด็กให้ได้ทั้งชื่อจริง ชื่อเล่น
4.มองเด็กให้เป็นเด็ก อย่าคิดว่าเขาต้องทำได้หรือต้องเป็นไปตามที่คาดหวัง         
คัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เพื่อสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย เด็กคนไหนเข้าข่ายให้มองและสังเกตให้ออก แต่อย่าพูดหรือบอกข้อเสียของเด็กกับใคร
ความพร้อมของเด็ก  ในห้องเรียนรวมขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
            วุฒิภาวะ  การเจริญเติบโตพัฒนาการอายุที่ต่างกัน
            แรงจูงใจ  เด็กมีความสนใจต่างกัน ถ้าสร้างแรงจูงใจก็จะมีความพร้อมต่อไป
            โอกาส   ขึ้นอยู่กับครู
การสอนโดยบังเอิญ คือ การสอนเชื่อมโยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือขณะที่เด็กเล่นและช่วงเวลาที่เด็กมีปัญหาวิ่งมาหาครูโดยให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
            การปฏิบัติ : พร้อมที่จะพบ ให้ความสนใจ มีความรู้สึกดีต่อเด็ก มีความตั้งใจช่วยเหลือ หรือ ใช้กิจกรรมล่อใจ ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานและอย่าใช้เวลาสอนนานเกินไปจนลืมสนใจเด็กตนอื่น
อุปกรณ์  คือ สื่อ ที่ใช้กับเด็กจะต้องมีความหลากหลายเปิดกว้างในวิธีการเล่นที่อิสระ เช่น ดินน้ำมัน ไม้บล็อก ตัวต่อเลโก้ เป็นต้น
            ลักษณะการเล่นของเด็กพิเศษ: จะเล่นแบบมองเด็กปกติและเรียนรู้จากเด็กปกติ ดังนั้น อาจให้เด็กที่เก่งเล่นใกล้ๆเด็กพิเศษเมื่อเขาเห็นก็จะเกิดการเลียนแบบและทำตาม
            ลักษณะการเล่นของเด็กปกติ:  ถ้าได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กพิเศษ เมื่อเห็นเด็กพิเศษเล่นเขาจะเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้น สามารถจับคู่ให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นกิจกรรมจะต้องคาดคะเนได้ว่าครูจะให้เขาทำอะไร ต้องเป็นกิจกรรมที่เขาเคยชินทุกวัน
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับขั้นตอนเป็น เช่น เป็นกิจวัตรตารางทุกวัน
- เด็กจะต้องรู้สึกปลอดภัย มั่นคง
- ต้องคำนึงถึงความเหมาะของเวลา เช่น ศิลปะ 10 - 15 นาที การทำงานศิลปะจะมีเด็กเสร็จก่อนและหลัง เด็กที่เสร็จก่อน จะให้เด็กเก็บผลงานเข้ากล่องตนเอง และเข้าเล่นอิสระในมุมเสรี
ทัศนคติของครู การสอนให้เด็กเชื่อฟังควรมีเทคนิค ดังนี้
1.ความยืดหยุ่น  การสอนอย่ายืดแผนโดยเที่ยงตรงแต่สามารถแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปัญหาของเด็กในขณะนั้นได้ โดยต้องยอมรับความสามารถของเด็ก ต้องตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญสุดสำหรับเด็กแต่ละคน ปัญหาเด่นที่เด็กเป็น อย่าไปคาดหวังเยอะ
            ตัวอย่าง : เช่น เด็กออทิสติก ตีเพื่อนเมื่อเพื่อนแย่งของ ครูจะต้องปรับพฤติกรรม ให้เขาพูดกับเพื่อนดีๆ เริ่มจากสิ่งง่ายๆก่อน ให้เขาเลิกตีเพื่อนให้ได้ อย่าเพิ่งหวังถึงการแบ่งปัน
2.การใช้สหวิทยาการ คือ การใจกว้าง รับฟังผู้อื่น วิชาชีพอื่นบ้าง อย่ามั่นใจเกิน และควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้: ที่ดีที่สุด คือ การให้แรงเสริม และเชื่อว่าเด็กทุกคนสอนได้  เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส มากกว่าขาดความสามารถเพราะทุกคนย่อมมีความสามรถอยู่ในตนเองถ้าได้รับโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่สำคัญต่อเด็กมาก มีแนวโนมต่อพฤติกรรมที่เด็กจะแสดงต่อไปและมีผลในทันที แต่หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมดีๆของเด็กก็จะหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมของผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา คำชมในทันที
- ยืนหรือนั่งใกล้เด็ก ยิ้มรับ ฟัง และสัมผัสทางกายให้เด็กอบอุ่น
- ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ถ้าเด็กทำไม่ดีต้องไม่สนใจ นิ่ง ให้เด็กเกรง
- ควรสนใจเด็กนานเท่าที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์ ไม่ต้องเยินยอนานเกินหลังจากนั้น
การแนะนำหรือบอกบท(Prompting) เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีกับเด็กพิเศษ บอกทุกขั้นตอน บอกย้อนคำตอบให้เด็ก โดยวิธีการย่อยงาน    ลำดับความยากง่ายของงานเพื่อเป็นการเสริมแรงให้เด็กค่อยๆก้าวไปจนสำเร็จ  การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับถ้าเด็กทำได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสอนเรื่องนั้น
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
1.สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
2.วิเคราะห์งาน กำหนดจุดย่อยๆแต่ละขั้น จากยากไปง่าย
3.ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้ทันทีหรือเด็กมีความพยายาม และลดการบอกบท
4.ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงเป้าหมายที่สุด ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดี และไม่ควรดุหรือตีเด็ก
การกำหนดเวลา จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมต้องเหมาะสม
ความต่อเนื่อง พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่นเข้าห้องน้ำ พักผ่อน หยิบและเก็บของ การกลับบ้าน หรือสอนแบบก้าวไปข้างหน้าหรือย้อนมาข้างหลัง (สอนข้ามขั้น ขั้นสุดท้ายก่อน ค่อยย้อนกลับมาเป็นขั้นตอนย่อยๆ)
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยทำอย่างอื่นทันที ไม่ต้องสนใจเขาสักพัก หยิบของขณะที่เด็กเล่นอยู่  หรือเอาเขาออกจากการเล่นนั้น เรียกว่าการขอเวลานอก Time Out ซึ่งใช้กับเด็กพิเศษได้ผล ให้เด็กนั่งอยู่คนเดียวทบทวนสิ่งที่ผิด เวลา 3-5นาที
เนื้อหา 3.ทบทวนเพลงเพื่อใช้บำบัดเด็กพิเศษ
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                           1. จะไม่มีอคติกับเด็กหรือมองเด็กพิเศษว่าแปลกประหลาด แต่จะมองเขาเป็นเหมือนเด็กทุกคน ที่สามารถพัฒนาได้
2. สามารถรักษาพฤติกรรมที่ดีของเด็กให้ต่อเนื่องยาวนานด้วยวิธีการเสริมแรงต่างๆ
3. ไม่คาดหวังกับเด็กเยอะแต่จะแก้ปัญหาเด็กทีละจุด เน้นจุดที่สำคัญและเป็นปัญหาร้ายแรงจริงๆก่อน
Post Test  
วันนี้อาจารย์ถามเป็นกลุ่มๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: วันนี้เกือบเข้าห้องเรียนสาย แต่ก็ยังทันอาจารย์ปั้มพอดี ตอนเรียนก็พยายามตั้งใจจดรายละเอียดต่างๆทันบ้างไม่ทันบ้างแต่ก็เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อย ฟัง และโต้ตอบอาจารย์กันในประเด็นต่างๆอย่างสนุกสนานทั้งเรื่องเรียนและอื่นๆเมื่อตอนทำกิจกรรมก็ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ต่างมีความคิดเห็นต่างกันออกไป บางคนก็ฟุบหลับไปกะโต๊ะสักพัก เหมือนเช่นเคย ขณะที่อาจารย์กำลังสอน 
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีการวางแผนเตรียมกิจกรรมการสอนมาดีให้นักศึกษาทุกครั้ง และคอยเน้นย้ำในหัวข้อที่สำคัญตลอดเวลา มีการยกตัวอย่างเพื่อนเรื่องทัศนคติ เรื่องสมมุติที่ค่อนข้างแรง 5555 แต่อาจารย์คงอยากสร้างบรรยากาศในห้องเรียนและอยากให้พวกเราเข้าใจ ในบางครั้งก็ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงมาเล่าด้วย คอยใส่ใจนักศึกษาเดินดูทั่วห้องตลอดเวลาที่พวกเราทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น