Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  9 มีนาคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน 12.20    เวลาเข้าเรียน 12.20   เวลาเลิกเรียน 15.00
ต้นชั่วโมงอาจารย์ได้แนะนำและเล่าถึงรุ่นพี่เรื่องการสอบบรรจุครู
เนื้อหา 1. กิจกรรมเกมแบบทดสอบทายใจ

เนื้อหา 2.ทบทวนเพลงบำบัดเด็กพิเศษ

เนื้อหา 3.ดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู..(จังหวะชีวิต)
ความรู้ที่ได้รับ กิจกรรมในVDOสามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับเด็กปกติและเด็กพิเศษในเวลาไปสอนจริงการเป็นครูอย่าไปดูถูกเด็กว่าทำไม่ได้ เน้นการสอนโดยบังเอิญหรือบอกบท ฯลฯ การสอนควรเริ่มจากกิจกรรมง่ายๆเมื่อเด็กทำได้จึงค่อยเพิ่มความยากขึ้นและครูจึงค่อยๆปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็ก
กิจกรรมที่ใช้กับเด็กในVDO
1.กิจกรรมผึ้งย้ายรัง   ฝึกทักษะการฟัง
2.โยนรับส่งบอลและก้าวรับส่ง   ช่วยเรื่องประสานสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือและตาและการกะระยะ
3.กระโดดกับห่วง   ฝึกกล้ามเนื้อขา
4.การใช้เพลงเคลื่อนไหว   ฝึกทักษะการฟัง
5.กิจกรรมหยิบ ยก ส่ง   ฝึกสมาธิและการเคลื่อนไหว
6.กิจกรรมหอยโข่ง     ฝึกทักษะการฟังและการเคลื่อนไหว
7.กิจกรรมฮูลาฮูป    ฝึกการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว
8.กิจกรรมปรบมือพร้อมสียงดนตรี  ฝึกการฟัง
สิ่งที่เด็กได้รับ
- เด็กจะเกิดความภูมิใจเมื่อทำได้ จะกล้าแสดงออก และแข็งแรง
- การใช้ดนตรีช่วยฝึกความสมดุลของร่างกาย
- ดนตรีช่วยเร้าความสนใจ ความสนุกสนาน ด้านอารมณ์ของเด็ก
- ทำให้เด็กรู้จักการรอคอย การฟังและการเล่นร่วมกับเพื่อน
เนื้อหา 4. เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ ทักษะทางภาษา
2.ทักษะทางภาษา ครูสามารถส่งเสริมภาษาให้เด็กปฐมวัยได้โดยแปะข้อหรือความตัวหนังสือต่างๆไว้ภายในห้องให้เด็กเกิดการซึมซับ และครูต้องเขียนตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม
การวัดความสามารถทางภาษาเด็กพิเศษ สามารถวัดได้จากสิ่งต่อไปนี้
เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม        - ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม             - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตนเองกับเด็กคนอื่นไหม                                                                             
การออกเสียงพูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น เช่น พูดแต่พยางค์หลังในเด็กบกพร่องทางภาษา
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง
ติดอ่าง                  
การปฏิบัติของครูหรือผู้ใหญ่ต่อเด็กพิเศษ
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด อย่าไปเพ่งเล็งมากนัก
- ห้ามบอกเด็กว่าให้พูด ช้าๆ ตามสบาย  หรือ คิดก่อนค่อยพูด
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเป็นเพราะการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา ที่จำเป็นและสำคัญคือเด็กต้องรับรู้และแสดงออก
- ทักษะการรับรู้ทางภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด ในเด็กพิเศษจะพบเยอะชอบใช้ท่าทาง ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- ควรรับรู้ว่าภาษาต้องมาก่อนการแสดงออกทางภาษา ซึ่งเป็นไปตามลำดับเหมือนการฟัง พูด อ่าน เขียน
- ต้องรู้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการทางภาษา เช่น เสียงอ้อแอ้ ก่อนที่จะพูดเป็นคำ และครูควรให้เวลาเด็กในการพูด
- คอยให้เด็กตอบ และครูคอยชี้แนะเมื่อจำเป็น
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไวและครูไม่ควรพูดมากเกินไป เพราะเด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อมีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง โดยครูไม่คาดการณืล่วงหน้า
- เน้นวิธีสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษยิ่งรับรู้ได้มากเท่าไหร่ ยิ่งสื่อสารได้มากเท่านั้น
การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching) เป็นการสอนที่ครูยกสถานการณ์ขณะนั้นขึ้นมา คือ ตอนเมื่อเด็กต้องการให้ช่วยเหลือ โดยใช้วิธีบอกบท โดยพูดชี้แนะให้เด็กตอบสนองกลับ
  ตัวอย่าง: สถานการณ์ เด็กกำลังผูกผ้ากันเปื้อน
1.ครูเดินเข้าไปหาแล้วพูดว่า หนูกำลังผูกผ้ากันเปื้อนอยู่ใช่ไหม..
2.ลองพูดตามครูก่อนซิ ครูถึงจะผูกให้ ลองพูดตามครู >ผ้ากันเปื้อน<
  การปฏิบัติ: เด็กอาจพูดหรือไม่พูด ครูก็ควรผูกให้เด็ก และทำซ้ำๆเป็นประจำ หรือประคองมือเด็กทำพร้อมๆกับครูด้วย
เนื้อหา 5.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ
บรรยากาศการสอนและการทำกิจกรรม
ผลงานคู่ดิฉันค่ะ จากภาพทำให้เห็นถึงความความละเอียดและเป็นคนที่คิดมาก
ขั้นตอนการสอน  (ศิลปะลากเส้นตรง)
1. ให้เด็กจับคู่ 2 คน จากนั้นแจกกระดาษและให้มาหยิบสีเทียนคนละแท่ง
2. เปิดเสียงดนตรีบำบัดเบาๆและให้เด็กเริ่มลากเส้นตรงพร้อมๆกันไปตามจังหวะเพลง
3. ให้มองช่องในเส้นที่ตัดกันและระบายสีในช่องนั้นให้หมด
4. จากนั้นให้นำผลงานมาวางโชว์ตามที่ที่จัดไว้และบรรยายภาพ
ความรู้ที่ได้รับ งานครั้งนี้จะยากกว่าครั้งที่แล้ว เพราะเด็กต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เยอะกว่า กิจกรรมนี้เป็นผลงานที่ชอบให้เด็กออทิสติกทำ สามรถดุจิตใจเด็กได้ เรียบง่าย คิดเยอะ มั่นใจ หรือยุ่งเหยิง
สิ่งที่เด็กได้รับ
- ฝึกสมาธิ        - มิติสัมพันธ์การลงสี      - พื้นที่ของช่อง        - สังคม การมีปฏิสัมพันธ์
- ภาษา             - การแสดงออกทางอารมณ์     - ความคิดสร้างสรรค์ในการลงสี
การนำไปประยุกต์ใช้
1. นำคำสอนและคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้เมื่อเจอสถานการณ์จริง
2. ฝึกร้องเพลงให้ถูกต้องและจำให้ได้เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
3. นำกิจกรรมไปบำบัดเด็กออทิสติก หรือ นำไปใช้กับเด็กปกติได้
4. ต้องเข้าใจพฤติกรรมเด็กว่าเด็กต้องการอะไรเพื่อสามรถบอกบทได้ถูกต้องและถูกสถานการณ์
Postest
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: รู้สึกมีแรงบันดาลใจที่ต้นชั่วโมงอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการสอบบรรจุ ก็ทำให้คิดวางแผนในชีวิตว่าเราจะทำอะไรเล่นๆไม่ได้แล้ว ซึ่งคิดว่าก็ยากพอควรและมีบางวิชาซึ่งไม่เก่งและไม่ถนัดมากๆเลยกลัวการสอบภาษาอังกฤษที่สุดก็ต้องพยายามมากกว่าเดิม มีความรู้สึกอยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจให้มากที่สุดในวันนั้น และอยากมีโอกาสฟังพี่ๆที่จบไปแล้วมาเล่าประสบการณ์ต่างๆให้ฟังเพื่อเป็นแนวทางมากๆค่ะ / การเรียนวันนี้ตอนทำกิจกรรมก็ตั้งใจแต่ก็มีง่วงๆอยู่บ้าง ตอนร้องเพลงก็รู้สึกว่าต้องไปฝึกมาอีกสำหรับเพลงชุดนี้ เพราะยังจำทำนองไม่ได้ ใส่ทำนองตัวเองไปเฉย 55555
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจฟังและสนใจเรื่องที่อาจารย์เล่าบางคนก็มีความรู้เกี่ยวกับการสอบบรรจุซึ่งพ่อแม่อาจรับราชการด้านนี้อยู่แล้ว ก่อนเข้าเนื้อหาเพื่อนๆก็สนุกสนานกับการทำกิจกรรม ได้เห็นคำตอบที่หลากหลาย ทำให้รู้จักเพื่อนๆแต่ละคนมากขึ้น และเมื่ออาจารย์ถามเรื่องเกี่ยวกับวิชาการแต่ละคนถ้ายังไม่แน่ใจ ก้มหน้าบ้าง หลบตาบ้าง 5555 เป็นเรื่องปกติค่ะ วันนี้ก็มีเพื่อนคุยกันเป็นช่วงๆค่อนข้างเสียงกังขณะอาจารย์สอน /สุดท้ายสำหรับกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ ก็ทำให้รู้จักตัวตนของเพื่อนเพิ่มมากขึ้น บางคนก็มีผลงานที่ละเอียดอ่อน แต่ก็มีบางคนผลงานคล้ายเด็กออทิสติกจริงๆ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย แต่หนูก็สงสัยอยู่ว่าทำไมวันนี้ใส่สีชมพูคะ555(สงสัยไม่เกี่ยวกับเรื่องเรียนอีกและ) / อาจารย์เตรียมกิจกรรมมาให้ทำตลอดรู้สึกผ่อนคลายดีค่ะ แล้วก็มีการปล่อยมุกทำให้สนุกสนาน อีกทั้งยังมีการประเมินนักศึกษาแต่ละกลุ่ม พูดให้กำลังใจ ถามไถ่เรื่องอื่นๆ และเล่าเรื่องที่ทำให้มีแรงบันดาลใจ ขณะสอนเมื่อเพื่อนๆคุยก็จะมีเทคนิคคือวางไมค์แล้วเดินไปใกล้ๆ ทำหน้าดุเล็กน้อย อิอิ ก็ทำให้เพื่อนเกรงไปสักพัก (แล้วก็เริ่มใหม่)- - 

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  2 มีนาคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน -    เวลาเข้าเรียน -   เวลาเลิกเรียน -
เนื้อหา 1. กิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยาของญี่ปุ่น
เนื้อหา 2. เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ ทักษะทางสังคม 
1.ทักษะทางสังคม สำหรับเด็กพิเศษเป็นด้านที่จำเป็นมากๆที่จะต้องส่งเสริมก่อน เด็กออทิสติกจะมีปัญหาด้านนี้มาก  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ่อแม่  สภาพแวดล้อมมีส่วนน้อยมาก แต่จะเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง ซึ่งต้องปรับที่ตัวเด็กก่อน!                                                           
กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมทักษะด้านสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยของเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนเล่นแต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ ผลัก ดึง ฯลฯ
          ตัวอย่าง: เด็กจะมองว่าเพื่อนสามารถพูดคุยได้ รู้ว่าเพื่อนมีตัวตน แต่ไม่รู้วิธีบอกเพื่อนถ้าเพื่อนยืนขวางอยู่ก็จะเดินชน ไม่รู้จักการหลบหลีก และจะไม่เล่นด้วย
ยุทธศาสตร์การสอน เด็กพิเศษหลายคนจะไม่รู้วิธีเล่น ครูต้องเริ่มต้นจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ การที่ครูสังเกตและจดบันทึก จะเป็นตัวบอกว่าเด็กเป็นอย่างไร และครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นจริงๆ รู้ลักษณะนิสัยต่างๆ ถึงจะเขียนแผน IEP ได้                                        
การกระตุ้น การเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2 - 4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
          ตัวอย่าง: เมื่อครูวางแผนกิจกรรมให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มจะต้องไม่มากกว่า 5 คน และจำนวนเด็กพิเศษ1 : เด็กปกติ 3 คน เด็กจะต้องสนิทกัน สามารถดูแลกันได้
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆแล้วเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- หาอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาเล่น
- ให้ความคิดที่เป็นแรงเสริม
          ตัวอย่าง: เมื่อครูวางแผนกิจกรรมให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มจะต้องไม่มากกว่า 5 คน และจำนวนเด็กพิเศษ1 : เด็กปกติ 3 คน เด็กจะต้องสนิทกัน สามารถดูแลกันได้
การให้แรงสริมทางสังคมขณะเด็กเล่น ครูพูดหรือชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อนทำได้โดยการพูดนำของครู
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาทางครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
          การปฏิบัติ: ห้ามหันหลังให้เด็ก ห้ามหันหลังให้เด็กทุกกลุ่ม เพราะเด็กจะคิดว่าครูไม่มองแล้ว ก็จะทำให้เด็กเล่นพิเรนและอาจทำสิ่งไม่คาดคิด  ครูควรยืนด้านหน้าและให้เด็กทุกคนอยู่ในสายตา
ของครู เมื่อเด็กเงยหน้าขึ้นมามองให้ยิ้มให้เด็ก (ควรฝึกยิ้มให้เป็นรอยยิ้มที่อบอุ่น)
            ตัวอย่าง: เมื่ออุปกรณ์เยอะไปจะทำให้เด็กต่างคนต่างเล่น และเลือกได้หลายอย่างเกินไป จึงควรเพิ่มของให้ให้เด็กทีละชิ้น เช่น
1.สมมุติว่าเด็กเล่นทราย เริ่มแรกด้วยมือเปล่า
2.จากนั้นค่อยเอาอุปกรณ์ชิ้นแรกมาให้เด็ก
3.อุปกรณ์จะต้องน้อยกว่าจำนวนเด็กเสมอ อย่าเกินครึ่งหรือมีเท่าจำนวนเด็ก เพราะจะไม่ทำให้เด็กได้แบ่งปันกัน
4.ถ้ามีเด็ก 4 คน ให้อุปกรณ์ 1-2 ชิ้น
5.ก่อนเล่นต้องมีข้อตกลงให้แบ่งกันหรือสลับกันเล่นทำให้เป็นเกม เช่น ตักคนละ 10 ครั้ง ถามเด็กซ้ำบ่อยๆ ครบแล้วใช่ไหม ถ้าครบแล้วให้ยื่นให้เพื่อน
6.เมื่อเด็กพิเศษไม่ยอมเข้ากลุ่ม ครูต้องชักนำ ต้องให้เด็กพิเศษมีจุดเด่น ถือของเล่นเข้าไปในกลุ่ม ก็จะทำให้เด็กปกติสนใจและยอมเล่นด้วย ครูควรพูดว่า ดูซิน้องมีของเล่นเยอะแยะเลย เป็นต้น
7.เมื่อเด็กยอมเข้าไปเล่นแล้ว ครูต้องห้ามทิ้ง คอยช่วยเหลือถ้าเด็กทำไม่ได้สามารถจับมือน้องไว้ได้
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ การให้โอกาสเด็ก ต้องให้เด็กเรียนรู้สิทธิหน้าที่ต่างๆเหมือนเด็กปกติ ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กมาเป็นข้ออ้างในการต่อรอง ต้องสอนให้เท่าทียมกับเด็กปกติ
เนื้อหา 3.เพลงบำบัดเด็กพิเศษ
ผู้เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
เนื้อหา 4.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ
ขั้นตอนการสอน  (ศิลปะลากเส้นโค้งอย่างอิสระ)
1. ให้เด็กจับคู่ 2 คน จากนั้นแจกกระดาษและให้มาหยิบสีเทียนคนละแท่ง
2. เปิดเสียงดนตรีบำบัดเบาๆและให้เด็กเริ่มลากเส้นไปพร้อมๆกัน
3. ระบายสีลงในช่องที่เส้นตัดกันให้หมด
4. ให้มองเส้นและวาดรูปจากสิ่งที่เห็น
5. นำผลงานมาวางและนำเสนอผลงานตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                           1.สามารถนำดนตรีบำบัดไปใช้กับเด็กพิเศษเพื่อให้มีความผ่อนคลายและเกิดการพัฒนาทุกๆด้านไปพร้อมๆกัน
2.นำกิจกรรมที่อาจารย์แนะนำไปจัดประสบการณ์ให้เด็กพิเศษ
3.การพัฒนาทักษะทางสังคมเด็กพิเศษเมื่อได้เป็นครูจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องและทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ
Postest
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: รู้สึกเพลียและง่วงนอนมากๆ อาจเป็นเพราะกิจกรรมวิชาในตอนเช้า จึงทำให้ร่างกายพร้อมจะเรียนบรรยากาศในห้องก็ร้อนๆ แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนแม้ว่าตาใกล้จะหลับแล้ว 5555 และก็ชอบกิจกรรมในวันนี้มากค่ะ ทั้งต้นชั่วโมงก็ทำให้สนุกสนานและท้ายคาบก็ได้ความรู้ในการบำบัดเด็กพิเศษด้วย
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆก็สนุกสนานกับกิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยา ตอนกิจกรรมบำบัดทุกคนก็ตั้งใจทำ มีจินตนาการสร้างสรรค์ภาพออกมาได้หลากหลาย แต่ดูท่าทางทุกคนวันนี้ก็เพลียไปตามๆกัน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี คอยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำคลายเครียดและการเรียนการสอนจะยกตัวอย่างตลอดเวลา 

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8 (สอบกลางภาค)


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน -    เวลาเข้าเรียน -   เวลาเลิกเรียน -

หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์การสอบกลางภาค