Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  2 มีนาคม พ.. 2558
เวลาเรียน 12.20     เวลาเข้าสอน -    เวลาเข้าเรียน -   เวลาเลิกเรียน -
เนื้อหา 1. กิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยาของญี่ปุ่น
เนื้อหา 2. เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ ทักษะทางสังคม 
1.ทักษะทางสังคม สำหรับเด็กพิเศษเป็นด้านที่จำเป็นมากๆที่จะต้องส่งเสริมก่อน เด็กออทิสติกจะมีปัญหาด้านนี้มาก  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ่อแม่  สภาพแวดล้อมมีส่วนน้อยมาก แต่จะเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง ซึ่งต้องปรับที่ตัวเด็กก่อน!                                                           
กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมทักษะด้านสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยของเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนเล่นแต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ ผลัก ดึง ฯลฯ
          ตัวอย่าง: เด็กจะมองว่าเพื่อนสามารถพูดคุยได้ รู้ว่าเพื่อนมีตัวตน แต่ไม่รู้วิธีบอกเพื่อนถ้าเพื่อนยืนขวางอยู่ก็จะเดินชน ไม่รู้จักการหลบหลีก และจะไม่เล่นด้วย
ยุทธศาสตร์การสอน เด็กพิเศษหลายคนจะไม่รู้วิธีเล่น ครูต้องเริ่มต้นจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ การที่ครูสังเกตและจดบันทึก จะเป็นตัวบอกว่าเด็กเป็นอย่างไร และครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นจริงๆ รู้ลักษณะนิสัยต่างๆ ถึงจะเขียนแผน IEP ได้                                        
การกระตุ้น การเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2 - 4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
          ตัวอย่าง: เมื่อครูวางแผนกิจกรรมให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มจะต้องไม่มากกว่า 5 คน และจำนวนเด็กพิเศษ1 : เด็กปกติ 3 คน เด็กจะต้องสนิทกัน สามารถดูแลกันได้
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆแล้วเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- หาอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาเล่น
- ให้ความคิดที่เป็นแรงเสริม
          ตัวอย่าง: เมื่อครูวางแผนกิจกรรมให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มจะต้องไม่มากกว่า 5 คน และจำนวนเด็กพิเศษ1 : เด็กปกติ 3 คน เด็กจะต้องสนิทกัน สามารถดูแลกันได้
การให้แรงสริมทางสังคมขณะเด็กเล่น ครูพูดหรือชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อนทำได้โดยการพูดนำของครู
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาทางครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
          การปฏิบัติ: ห้ามหันหลังให้เด็ก ห้ามหันหลังให้เด็กทุกกลุ่ม เพราะเด็กจะคิดว่าครูไม่มองแล้ว ก็จะทำให้เด็กเล่นพิเรนและอาจทำสิ่งไม่คาดคิด  ครูควรยืนด้านหน้าและให้เด็กทุกคนอยู่ในสายตา
ของครู เมื่อเด็กเงยหน้าขึ้นมามองให้ยิ้มให้เด็ก (ควรฝึกยิ้มให้เป็นรอยยิ้มที่อบอุ่น)
            ตัวอย่าง: เมื่ออุปกรณ์เยอะไปจะทำให้เด็กต่างคนต่างเล่น และเลือกได้หลายอย่างเกินไป จึงควรเพิ่มของให้ให้เด็กทีละชิ้น เช่น
1.สมมุติว่าเด็กเล่นทราย เริ่มแรกด้วยมือเปล่า
2.จากนั้นค่อยเอาอุปกรณ์ชิ้นแรกมาให้เด็ก
3.อุปกรณ์จะต้องน้อยกว่าจำนวนเด็กเสมอ อย่าเกินครึ่งหรือมีเท่าจำนวนเด็ก เพราะจะไม่ทำให้เด็กได้แบ่งปันกัน
4.ถ้ามีเด็ก 4 คน ให้อุปกรณ์ 1-2 ชิ้น
5.ก่อนเล่นต้องมีข้อตกลงให้แบ่งกันหรือสลับกันเล่นทำให้เป็นเกม เช่น ตักคนละ 10 ครั้ง ถามเด็กซ้ำบ่อยๆ ครบแล้วใช่ไหม ถ้าครบแล้วให้ยื่นให้เพื่อน
6.เมื่อเด็กพิเศษไม่ยอมเข้ากลุ่ม ครูต้องชักนำ ต้องให้เด็กพิเศษมีจุดเด่น ถือของเล่นเข้าไปในกลุ่ม ก็จะทำให้เด็กปกติสนใจและยอมเล่นด้วย ครูควรพูดว่า ดูซิน้องมีของเล่นเยอะแยะเลย เป็นต้น
7.เมื่อเด็กยอมเข้าไปเล่นแล้ว ครูต้องห้ามทิ้ง คอยช่วยเหลือถ้าเด็กทำไม่ได้สามารถจับมือน้องไว้ได้
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ การให้โอกาสเด็ก ต้องให้เด็กเรียนรู้สิทธิหน้าที่ต่างๆเหมือนเด็กปกติ ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กมาเป็นข้ออ้างในการต่อรอง ต้องสอนให้เท่าทียมกับเด็กปกติ
เนื้อหา 3.เพลงบำบัดเด็กพิเศษ
ผู้เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
เนื้อหา 4.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ
ขั้นตอนการสอน  (ศิลปะลากเส้นโค้งอย่างอิสระ)
1. ให้เด็กจับคู่ 2 คน จากนั้นแจกกระดาษและให้มาหยิบสีเทียนคนละแท่ง
2. เปิดเสียงดนตรีบำบัดเบาๆและให้เด็กเริ่มลากเส้นไปพร้อมๆกัน
3. ระบายสีลงในช่องที่เส้นตัดกันให้หมด
4. ให้มองเส้นและวาดรูปจากสิ่งที่เห็น
5. นำผลงานมาวางและนำเสนอผลงานตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้                                                                                                                                                           1.สามารถนำดนตรีบำบัดไปใช้กับเด็กพิเศษเพื่อให้มีความผ่อนคลายและเกิดการพัฒนาทุกๆด้านไปพร้อมๆกัน
2.นำกิจกรรมที่อาจารย์แนะนำไปจัดประสบการณ์ให้เด็กพิเศษ
3.การพัฒนาทักษะทางสังคมเด็กพิเศษเมื่อได้เป็นครูจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องและทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ
Postest
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: รู้สึกเพลียและง่วงนอนมากๆ อาจเป็นเพราะกิจกรรมวิชาในตอนเช้า จึงทำให้ร่างกายพร้อมจะเรียนบรรยากาศในห้องก็ร้อนๆ แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนแม้ว่าตาใกล้จะหลับแล้ว 5555 และก็ชอบกิจกรรมในวันนี้มากค่ะ ทั้งต้นชั่วโมงก็ทำให้สนุกสนานและท้ายคาบก็ได้ความรู้ในการบำบัดเด็กพิเศษด้วย
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆก็สนุกสนานกับกิจกรรมแบบทดสอบจิตวิทยา ตอนกิจกรรมบำบัดทุกคนก็ตั้งใจทำ มีจินตนาการสร้างสรรค์ภาพออกมาได้หลากหลาย แต่ดูท่าทางทุกคนวันนี้ก็เพลียไปตามๆกัน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี คอยหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำคลายเครียดและการเรียนการสอนจะยกตัวอย่างตลอดเวลา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น