บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ
แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 16 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 12.20 เวลาเข้าสอน 12.20 เวลาเข้าเรียน 12.20 เวลาเลิกเรียน 15.00
เนื้อหา 1. กิจกรรมเกมแบบทดสอบความยับยั้งชั่งใจ
เนื้อหา 3. เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ความรู้ที่ได้รับ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
1.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เด็กจำเป็นต้องมีอิสระในสังคมด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ใครช่วยเหลือ
เด็กจะต้องเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
และกิจวัตรต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
ซึ่งเด็กไม่รู้จะเริ่มตรงไหนครูจึงต้องสอนตั้งแต่แรก
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเองอยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และจากผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ มีผลต่อความรู้สึกของเด็กจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
- การได้ทำด้วยตนเอง จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
และเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
(ใจแข็ง) ให้เด็กทำเองก่อน ช่วยแค่ในสิ่งที่เด็กขอ
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปแม้กระทั่งสิ่งที่เด็กทำเองได้หากให้เวลาเขาทำ
คำต่อไปนี้ห้ามพูดกับเด็ก *หนูทำช้า *หนูยังทำไม่ได้หรอก
ตัวอย่าง: สถานการณ์ ถ้าน้องดาวน์ทำช้าหรือทำไม่ได้ ก็สามารถให้เด็กคนอื่นรอได้แต่ไม่ยืนกดดันน้อง
หรือให้เด็กคนอื่นไปเล่นรอน้องก่อน การทำเช่นนี้เพื่อให้เกิดการเสมอภาค รู้จักการรอคอย
และทำให้น้องดาวน์รู้สึกว่าตนเองสำคัญและไม่แตกต่างจากคนอื่น
การปฏิบัติ: เช่น ครูพูดว่า รอน้องดาวน์ก่อนนะลูก หนูไปเล่นรอเพื่อนก่อนนะ ไหนดูน้องซิใกล้เสร็จแล้ว
มาช่วยเพื่อน หรือปรบมือให้กำลังใจเพื่อนกันหน่อย ฯลฯ
ควรช่วยเมื่อไหร่
- ช่วยเมื่อเด็กมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร
หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย ซึ่งครูต้องสังเกตและสามรถช่วยได้
- หลายครั้งที่เด็กขอความช่วยเหลือเรื่องเดิมซ้ำๆ
เพราะคิดว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องรับความช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องการ
ต้องสังเกตว่าเวลานั้นเด็กต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ ค่อยเข้าไปช่วย
- มักช่วยเหลือเด็กในเวลาทำกิจกรรม
-
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- ครูเป็นส่วนสำคัญ
ต้องแบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองเป็นขั้นย่อยๆ เรียงตามขั้นตอนให้เป็น
- การวางแผนทีละขั้น แยกเป็นกิจกรรมย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ย่อยงานอย่างเป็นขั้นๆ เพราะความสำเร็จจากขั้นเล็กๆจะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด จะช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง
พึ่งตนเองได้ และรู้สึกเป็นอิสระ
เพิ่มเติม การใช้หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นรูปแบบที่ใช้กับเด็กพิเศษโดยเฉพาะ
ช่วยฝึกกล้ามเนื้อ พัฒนาสติปัญญา
ทักษะการช่วยเหลือตนเองและมีกฏระเบียบที่ชัดเจน คลิกดูเพิ่มเติม
ขั้นตอนการสอน (วงกลมหลากสี)
1. อธิบายการทำ แจกกระดาษและให้เด็กมาหยิบสีเทียนหลากหลายสี
2.
ให้เด็กหาจุดศูนย์กลางของกระดาษและวาดวงกลมไปเรื่อยๆ
3. เมื่อเสร็จจึงตัดออกตามรูปวงกลมตนเอง
4. จากนั้นให้แต่ละคนนำวงกลมตนเองมาติดบนต้นไม้ที่อยู่บนกระดานให้เต็มต้น
ความรู้ที่ได้รับ ให้แจกของเด็กที่หลัง
เพราะเด็กจะได้ไม่เล่นกับอุปกรณ์ก่อน กิจกรรมนี้จะทำให้เห็นจิตใจและความคิดเด็กแต่ละคนได้
เช่น ถ้าเด็กคิดเยอะ เส้นก็จะเยอะ และการลงสีที่หนาและหนัก จะบ่งบอกถึงอารมณ์
ความคิดของเด็กได้ในขณะนั้น
สิ่งที่เด็กได้รับ
- กล้ามเนื้อเล็ก - คณิตศาสตร์ - มิติสัมพันธ์
- สมาธิ
- จินตนาการ - การร่วมมือจากคนในห้อง
การนำไปประยุกต์ใช้
1. จัดตารางประจำวันให้เด็กได้ทำซ้ำๆ
จนเกิดพัฒนาการที่ดีขึ้นและช่วยเหลือตนเองได้
2. แบ่งการย่อยงานให้เป็นขั้นที่เล็กที่สุด
3. นำกิจกรรมไปบำบัดเด็กพิเศษ หรือ นำไปใช้กับเด็กปกติได้
Postest
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: แต่งกายถูกระเบียบ
ตั้งใจร่วมกิจกรรม และง่วงนอนในบางครั้ง และมีนั่งเหม่อลอยบ้าง สมองไม่ค่อยรับเท่าไหร่555 ตอนที่อาจารย์พูดถึงผลงานก็ค่อนข้างตรงกับตัวเอง จากการที่ระบายสีอ่อนเพราะตนเองไม่ค่อยมีความมั่นใจเท่าที่ควร
ช่วงท้ายคาบเมื่ออาจารย์พูดถึงข่าวที่ไม่ค่อยดีมากนัก ที่จะย้ายไปอยู่สังกัดคณะอื่น
ก็รู้สึกเศร้าใจไม่อยากให้อาจารย์ไป และคิดว่ามันคงจะมีวิธีที่จะทำให้อาจารย์อยู่กับพวกเราได้
:(
ประเมินเพื่อน: เพื่อนร่วมกิจกรรมได้ดี
จากผลงานทำให้เห็นว่าเพื่อนมีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อนๆมีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน
มีความรู้สึกเดียวกันที่ไม่อยากให้อาจารย์ย้ายไป
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนและอธิบายได้ชัดเจน
มีการใช้ศัพท์วัยรุ่น
555 วันนี้อาจารย์ใส่เสื้อสีฟ้า ผ่องศรีมากค่ะ อิอิ / สุดท้ายโมเม้นท์เศร้าตอนอาจารย์เล่าหนูก็แอบเห็นน๊า T-T อาจารย์ก็คงไม่อยากไปเหมือนกัน..
ขอให้ทุกอย่างเป็นแค่ข่าวลือ สาธุ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น